มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ประวัติ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2483 สำนักงานหอการค้าไทย
ตึกพาณิชย์ภัณฑ์ ถนนศรีอยุธยา สนามเสือป่า โดยในครั้งนั้นใช้ชื่อ "วิทยาลัยการค้า"
เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีหลักสูตรการศึกษา 6 เดือน ตึกพาณิชย์ภัณฑ์ ถนนศรีอยุธยา สนามเสือป่า โดยในครั้งนั้นใช้ชื่อ "วิทยาลัยการค้า"
ทันสมัยอย่างยิ่ง เพราะดำเนินตามหลักสูตร ของหอการค้าแห่งกรุงลอนดอน แต่
วิทยาลัยการค้าเปิดสอนได้เพียง 1 ปี ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้
วิทยาลัย ต้องปิดตัวเอง เนื่องจากการสงคราม และรัฐบาลต้องการใช้สถานที่เป็น
ที่ตั้ง สำนักงานประสานงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น วิทยาลัยการค้าปิดไปร่วม 22 ปี กรรมการหอการค้าไทยทุกสมัยได้พยายามเป็นลำดับที่จะรื้อฟื้นวิทยาลัยขึ้นใหม่จน
กระทั่งพ.ศ. 2506 คณะกรรมการหอการค้าไทยก็ประสบผลสำเร็จในการเปิดวิทยาลัยอีกครั้งในชื่อ "วิทยาลัยการค้า" เช่นเดิม แต่ได้ย้ายอาคารที่ตั้งมาอยู่ที่ ณ
ที่ทำการของหอการค้าไทย เลขที่ 150 ถนนราชบพิธ เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรการค้าชั้นสูง การเปิดสอนของวิทยาลัยการค้าครั้งนี้ อยู่ภายใต้การ
ควบคุมของ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ที่ประชุมสภาวิทยาลัยการค้า มีมติให้เปลี่ยนชื่อ
วิทยาลัยเป็น "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of Commerce of The Thai
Chamber of Commerce) ดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 28 แห่งพระราช บัญญัติหอการค้า (พ.ศ. 2509) ที่กำหนดให้หอการค้าไทยมีหน้าที่จัดตั้ง
และ ดำเนินการสถานศึกษาที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ และ ในวันที่ 17
มิถุนายน พ.ศ. 2513 คณะกรรมการวิทยาลัยเอกชน กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้หอการค้าไทย จัดตั้ง "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of
ศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาบริหารทั่วไป
ธุรกิจระหว่างประเทศ เลขานุการ การตลาด การบัญชี การคลังการธนาคาร
และ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับในหลักการให้วิทยาลัยเอกชนดำเนินการสอนได้ ในระดับเกินกว่า 3 ปี และวิทยาลัยการพาณิชย์ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอน ทั้งหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทั้ง 7 สาขาวิชา ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516
พร้อมกันนี้วิทยาลัยได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยการค้า" อีกครั้ง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า College of Commerce อักษรย่อ "วค" (C.C.)
21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยการค้าโอนมาสังกัดกับทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมกับ ได้ย้ายมาอยู่ เลขที่ 126/1 ถนนวิภาวดี
รังสิต เขตดินแดง อันเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เมื่อวิทยาลัยการค้าปฏิบัติพันธกิจได้อย่างครบถ้วน ตามเงื่อนไขแห่งการเป็น
สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาใน วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทสถาบันเป็นมหาวิทยาลัย ในชื่อ "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (The University of the Thai Chamber Commerce) อักษรย่อ "มกค." (UTCC)
ตราสัญลักษณ์
สำเภาหัวนาค : สำเภาหัวนาค เป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายระหว่างประเทศ มาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และ สำเภาหัวนาคเป็นสัญลักษณ์ของเรือสำเภาไทย
คลื่น : คลื่นเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการเดินเรือสำเภา ที่จะสามารถฝ่าเกรียวคลื่น และ อุปสรรคต่างๆ ได้ต้องเป็นสำเภา ที่มีนายท้ายเรือ ที่ชำนาญและมีความวิริยะ อุตสาหะ
อาร์ม : ตราอาร์มมักใช้เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และ การงาน
ความหมายรวมของตรามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงหมายถึงสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาทีเกี่ยวกับการธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ นำไปประกอบอาชีพจนประสบผลสำเร็จในชีวิตตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ตรามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในอดีต นับตั้งแต่เปิดดำเนินการเรียนการสอน เมื่อปีพุทธศักราช 2483 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงตราของสถาบัน รวม 9 รูปแบบ ดังนี้
แรกตั้ง "วิทยาลัยการค้าของหอการค้าไทย" ได้นำตราของหอการค้าไทย มาเป็นตราวิทยาลัย
การจัดตั้งวิทยาลัยการค้าขึ้นอีกครั้ง ได้เพิ่มเติมชื่อของวิทยาลัยด้านล่างของ ตราหอการค้าไทย เพื่อใช้เป็นตราของวิทยาลัย
เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการพาณิชย์ ได้ปรับปรุงตราวิทยาลัยเป็นแบบกลม พร้อมทั้งมีการปรับแก้แบบตราหอการค้าไทยที่บรรจุอยู่ภายในตราขึ้นใหม่
เป็นตราที่ปรับปรุงจากตราลำดับที่ 3 โดยแก้ไขให้เป็นแบบโปร่ง แต่ตรานี้ก็มีการใช้เพียงปีเดี่ยวเท่านั้น
พ.ศ. 2513 วิทยาลัยการพาณิชณ์ได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา พร้อมกันนั้นก็ได้ปรับปรุงตราวิทยาลัย โดยใช้โครงสร้างตราแบบกลม แต่ได้ปรับปรุงอาร์ม ให้เป็นแบบหอการค้าไทย
ตราลำดับที่ 6 วิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2515 - 2516)
ได้ปรับแก้อักษรในวงกลมจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็น "COLLEGE OF COMMERCE" พร้อมกับเปลี่ยนลายใบมะกอกเป็นลายประจำยา
ตราลำดับที่ 7 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2516 - 2517)
วิทยาลัยได้ขอแก้ไขชื่อเป็น วิทยาลัยการค้า เช่นเดียวกับเมื่อแรกตั้ง ตราวิทยาลัยนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงอักษรชื่อแล้วยังได้แก้อักษรในเกลียวคลื่นจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็นอักษรย่อ "ว.ค." อันเป็นอักษรย่ออย่างเป็นทางการของวิทยาลัย
ตราลำดับที่ 8 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2517 - 2527)
ตราวิทยาลัยการค้ายังคงเดิมแต่ตัวอักษรย่อ "ว.ค." ได้ซ้ำซ้อนกับการประกาศอักษรย่อของหน่วยงานราชการ วิทยาลัยจึงได้ขอเปลี่ยนอักษรย่อ พร้อมแก้ไขอักษรย่อในตราเป็น "ว.กค." ซึ่งตรานี้ได้ชื่อเรื่อยมาจนกระทั่งวิทยาลัยการค้าไทย ได้รับการเปลี่ยนประเภทเป็นสถาบันในเดือน ตุลาคม 2527
วิทยาลัยได้ขอแก้ไขชื่อเป็น วิทยาลัยการค้า เช่นเดียวกับเมื่อแรกตั้ง ตราวิทยาลัยนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงอักษรชื่อแล้วยังได้แก้อักษรในเกลียวคลื่นจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็นอักษรย่อ "ว.ค." อันเป็นอักษรย่ออย่างเป็นทางการของวิทยาลัย
คณะบัญชี
คณะบัญชีได้ทำการสอนวิชาการบัญชีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัยการค้าซี่งขณะนั้นเป็นหลักสูตร 6 เดือน และหลักสูตร 2 ปีหลักสูตรนี้เปิดได้เพียง 1 ปี เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้หลักสูตรนี้ต้องปิดการเรียนการสอนไปพร้อมกับวิทยาลัยการค้าระยะหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2506 วิทยาลัยจึงได้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยการพาณิชย์" หลักสูตรที่เปิดสอนในระยะนั้นเป็นหลักสูตร 5 ปี ผู้จบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากวิทยาลัยการค้าทุกสาขา รวมทั้งผู้ที่จบสาขาวิชาการบัญชีด้วย
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตร 4 ปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ต่อมาในปี พ.ศ.2513 คณะบัญชีปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็น หลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชีและได้รับรองมาตรฐานจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้จบปริญญาตรีทางการบัญชีจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ
คณะบัญชีได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรใหม่หลายครั้งกล่าวคือ หลักสูตร ปี พ.ศ. 2520 หลักสูตร ปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมี 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาบัญชีการเงิน สาขาวิชาบัญชีต้นทุน สาขาวิชาการสอบบัญชี สาขาวิชาการบัญชีเพื่อการ จัดการ และสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและในปี พ.ศ. 2546 คณะบัญชีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับตลาดงาน ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถ และมีองค์ความรู้หลายด้าน มีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชีด้วยนโยบายสหกิจศึกษา และ มีความถนัดตามต้องการ โดยสามารถเลือกศึกษาวิชาโทในคณะอื่นๆ ที่สนใจ
ปัจจุบัน คณะบัญชีได้เปิดสอน 2 ภาค คือ ภาคปกติ และภาคค่ำ นอกจากนี้คณะบัญชีได้ เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ทางการบัญชีเป็นปริญญาตรีใบที่สองได้เลือกศึกษาในหลุ่มผู้ทำบัญชี (ภาคค่ำ) เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานทางการบัญชีได้ถูกต้องเหมาะสมตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
ปีที่ก่อตั้ง 2506
สีประจำคณะ สีม่วงคราม
สัญลักษณ์ประจำคณะ ดอกฟ้ามุ่ย
ปรัชญาของคณะ สร้างนักบัญชีที่มีคุณภาพ ยึดมั่นจรรยา พัฒนาวิชาชีพ