วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สถานที่ศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2483 สำนักงานหอการค้าไทย
ตึกพาณิชย์ภัณฑ์ ถนนศรีอยุธยา สนามเสือป่า โดยในครั้งนั้นใช้ชื่อ "วิทยาลัยการค้า"
เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีหลักสูตรการศึกษา 6 เดือน
และ 2 ปี มีนักศึกษาประมาณ 300 คน หลักสูตรการสอนของวิทยาลัยการค้า นับว่า
ทันสมัยอย่างยิ่ง เพราะดำเนินตามหลักสูตร ของหอการค้าแห่งกรุงลอนดอน แต่
วิทยาลัยการค้าเปิดสอนได้เพียง 1 ปี ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้
วิทยาลัย ต้องปิดตัวเอง เนื่องจากการสงคราม และรัฐบาลต้องการใช้สถานที่เป็น
ที่ตั้ง สำนักงานประสานงานระหว่างไทยกับญี่ปุ่น วิทยาลัยการค้าปิดไปร่วม 22 ปี
กรรมการหอการค้าไทยทุกสมัยได้พยายามเป็นลำดับที่จะรื้อฟื้นวิทยาลัยขึ้นใหม่จน
กระทั่งพ.ศ. 2506 คณะกรรมการหอการค้าไทยก็ประสบผลสำเร็จในการเปิด
วิทยาลัยอีกครั้งในชื่อ "วิทยาลัยการค้า" เช่นเดิม แต่ได้ย้ายอาคารที่ตั้งมาอยู่ที่ ณ
ที่ทำการของหอการค้าไทย เลขที่ 150 ถนนราชบพิธ เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับ
ประกาศนียบัตรการค้าชั้นสูง การเปิดสอนของวิทยาลัยการค้าครั้งนี้ อยู่ภายใต้การ
ควบคุมของ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ที่ประชุมสภาวิทยาลัยการค้า มีมติให้เปลี่ยนชื่อ
วิทยาลัยเป็น "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of Commerce of The Thai
Chamber of Commerce) ดำเนินการตามเงื่อนไขมาตรา 28 แห่งพระราช
บัญญัติหอการค้า (พ.ศ. 2509) ที่กำหนดให้หอการค้าไทยมีหน้าที่จัดตั้ง
และ ดำเนินการสถานศึกษาที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ และ ในวันที่ 17
มิถุนายน พ.ศ. 2513 คณะกรรมการวิทยาลัยเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
ได้อนุญาตให้หอการค้าไทย จัดตั้ง "วิทยาลัยการพาณิชย์" (College of
Commerce) อักษรย่อ "ว.พณ." (C.C.) เปิดสอนหลักสูตร 3 ปี ผู้สำเร็จการ
ศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาบริหารทั่วไป
ธุรกิจระหว่างประเทศ เลขานุการ การตลาด การบัญชี การคลังการธนาคาร
และ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับในหลักการให้วิทยาลัยเอกชนดำเนินการสอนได้ ในระดับเกินกว่า 3 ปี และวิทยาลัยการพาณิชย์ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอน ทั้งหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทั้ง 7 สาขาวิชา ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516
พร้อมกันนี้วิทยาลัยได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยการค้า" อีกครั้ง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า College of Commerce อักษรย่อ "วค" (C.C.)

21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยการค้าโอนมาสังกัดกับทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมกับ ได้ย้ายมาอยู่ เลขที่ 126/1 ถนนวิภาวดี
รังสิต เขตดินแดง อันเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เมื่อวิทยาลัยการค้าปฏิบัติพันธกิจได้อย่างครบถ้วน ตามเงื่อนไขแห่งการเป็น
สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาใน วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทสถาบันเป็นมหาวิทยาลัย ในชื่อ "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (The University of the Thai Chamber Commerce) อักษรย่อ "มกค." (UTCC)

ตราสัญลักษณ์

สำเภาหัวนาค : สำเภาหัวนาค เป็นสัญลักษณ์ของการค้าขายระหว่างประเทศ มาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และ สำเภาหัวนาคเป็นสัญลักษณ์ของเรือสำเภาไทย




คลื่น : คลื่นเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการเดินเรือสำเภา ที่จะสามารถฝ่าเกรียวคลื่น และ อุปสรรคต่างๆ ได้ต้องเป็นสำเภา ที่มีนายท้ายเรือ ที่ชำนาญและมีความวิริยะ อุตสาหะ

อาร์ม : ตราอาร์มมักใช้เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ สำหรับผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และ การงาน

 
ความหมายรวมของตรามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงหมายถึงสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชาทีเกี่ยวกับการธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ นำไปประกอบอาชีพจนประสบผลสำเร็จในชีวิตตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

ตรามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในอดีต นับตั้งแต่เปิดดำเนินการเรียนการสอน เมื่อปีพุทธศักราช 2483 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงตราของสถาบัน รวม 9 รูปแบบ ดังนี้

ตราลำดับที่ 1 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2483)

แรกตั้ง "วิทยาลัยการค้าของหอการค้าไทย" ได้นำตราของหอการค้าไทย มาเป็นตราวิทยาลัย




ตราลำดับที่ 2 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2506 - 2508)


การจัดตั้งวิทยาลัยการค้าขึ้นอีกครั้ง ได้เพิ่มเติมชื่อของวิทยาลัยด้านล่างของ ตราหอการค้าไทย เพื่อใช้เป็นตราของวิทยาลัย



ตราลำดับที่ 3 วิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2508 - 2511)

เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการพาณิชย์ ได้ปรับปรุงตราวิทยาลัยเป็นแบบกลม พร้อมทั้งมีการปรับแก้แบบตราหอการค้าไทยที่บรรจุอยู่ภายในตราขึ้นใหม่


 
ตราลำดับที่ 4 วิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2511 - 2512)


เป็นตราที่ปรับปรุงจากตราลำดับที่ 3 โดยแก้ไขให้เป็นแบบโปร่ง แต่ตรานี้ก็มีการใช้เพียงปีเดี่ยวเท่านั้น




ตราลำดับที่ 5 วิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2513 - 2514)


พ.ศ. 2513 วิทยาลัยการพาณิชณ์ได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา พร้อมกันนั้นก็ได้ปรับปรุงตราวิทยาลัย โดยใช้โครงสร้างตราแบบกลม แต่ได้ปรับปรุงอาร์ม ให้เป็นแบบหอการค้าไทย
 
ตราลำดับที่ 6 วิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2515 - 2516)


ได้ปรับแก้อักษรในวงกลมจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็น "COLLEGE OF COMMERCE" พร้อมกับเปลี่ยนลายใบมะกอกเป็นลายประจำยา
 
 
ตราลำดับที่ 7 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2516 - 2517)


วิทยาลัยได้ขอแก้ไขชื่อเป็น วิทยาลัยการค้า เช่นเดียวกับเมื่อแรกตั้ง ตราวิทยาลัยนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงอักษรชื่อแล้วยังได้แก้อักษรในเกลียวคลื่นจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็นอักษรย่อ "ว.ค." อันเป็นอักษรย่ออย่างเป็นทางการของวิทยาลัย
 
 
ตราลำดับที่ 8 วิทยาลัยการค้า (พ.ศ. 2517 - 2527)


ตราวิทยาลัยการค้ายังคงเดิมแต่ตัวอักษรย่อ "ว.ค." ได้ซ้ำซ้อนกับการประกาศอักษรย่อของหน่วยงานราชการ วิทยาลัยจึงได้ขอเปลี่ยนอักษรย่อ พร้อมแก้ไขอักษรย่อในตราเป็น "ว.กค." ซึ่งตรานี้ได้ชื่อเรื่อยมาจนกระทั่งวิทยาลัยการค้าไทย ได้รับการเปลี่ยนประเภทเป็นสถาบันในเดือน ตุลาคม 2527
 
 
ตราลำดับที่ 9 มหาวิทยาลัยการหอการค้าไทยในปัจจุบัน


วิทยาลัยได้ขอแก้ไขชื่อเป็น วิทยาลัยการค้า เช่นเดียวกับเมื่อแรกตั้ง ตราวิทยาลัยนอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงอักษรชื่อแล้วยังได้แก้อักษรในเกลียวคลื่นจาก "หอการค้าไทย" ให้เป็นอักษรย่อ "ว.ค." อันเป็นอักษรย่ออย่างเป็นทางการของวิทยาลัย
 
 
คณะบัญชี



คณะบัญชีได้ทำการสอนวิชาการบัญชีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัยการค้าซี่งขณะนั้นเป็นหลักสูตร 6 เดือน และหลักสูตร 2 ปีหลักสูตรนี้เปิดได้เพียง 1 ปี เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้หลักสูตรนี้ต้องปิดการเรียนการสอนไปพร้อมกับวิทยาลัยการค้าระยะหนึ่ง



ในปี พ.ศ. 2506 วิทยาลัยจึงได้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยการพาณิชย์" หลักสูตรที่เปิดสอนในระยะนั้นเป็นหลักสูตร 5 ปี ผู้จบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากวิทยาลัยการค้าทุกสาขา รวมทั้งผู้ที่จบสาขาวิชาการบัญชีด้วย




 
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตร 4 ปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ต่อมาในปี พ.ศ.2513 คณะบัญชีปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็น หลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชีและได้รับรองมาตรฐานจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้จบปริญญาตรีทางการบัญชีจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ



คณะบัญชีได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรใหม่หลายครั้งกล่าวคือ หลักสูตร ปี พ.ศ. 2520 หลักสูตร ปี พ.ศ. 2528 หลักสูตรปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมี 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาบัญชีการเงิน สาขาวิชาบัญชีต้นทุน สาขาวิชาการสอบบัญชี สาขาวิชาการบัญชีเพื่อการ จัดการ และสาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและในปี พ.ศ. 2546 คณะบัญชีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับตลาดงาน ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถ และมีองค์ความรู้หลายด้าน มีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชีด้วยนโยบายสหกิจศึกษา และ มีความถนัดตามต้องการ โดยสามารถเลือกศึกษาวิชาโทในคณะอื่นๆ ที่สนใจ



ปัจจุบัน คณะบัญชีได้เปิดสอน 2 ภาค คือ ภาคปกติ และภาคค่ำ นอกจากนี้คณะบัญชีได้ เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ทางการบัญชีเป็นปริญญาตรีใบที่สองได้เลือกศึกษาในหลุ่มผู้ทำบัญชี (ภาคค่ำ) เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานทางการบัญชีได้ถูกต้องเหมาะสมตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี



ปีที่ก่อตั้ง 2506
สีประจำคณะ สีม่วงคราม

สัญลักษณ์ประจำคณะ ดอกฟ้ามุ่ย

ปรัชญาของคณะ สร้างนักบัญชีที่มีคุณภาพ ยึดมั่นจรรยา พัฒนาวิชาชีพ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กีฬา (ตะกร้อ)



ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ประวัติตะกร้อในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา

การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า, หนังสัตว์, หวาย, จนถึงประเภทสังเคราะห์ (พลาสติก)
ความหมาย
คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า "ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ"
วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น
- ตะกร้อข้ามตาข่าย
- ตะกร้อลอดบ่วง
- ตะกร้อพลิกแพลง  เป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ.ศ. 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง
- ตะกร้อข้ามตาข่าย
- ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า "เซปักตะกร้อ" และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจุบัน
ประโยชน์และความมุ่งหมายของกีฬาตะกร้อ
ประโยชน์
ในประเทศไทย พลเมืองส่วนมากชอบที่จะดูและเล่นตะกร้อกันโดยทั่วไป แต่การที่จะเล่นให้ได้ดีต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาที่สนุกสนานต่อเนื่องเล่นได้ไม่จำกัด เพียงแต่เราฝึกหัดเบื้องต้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถเล่นกีฬาตะกร้อได้แล้ว ราคาของอุปกรณ์ที่ถูกและทนทานใช้สถานที่ในการเล่นน้อย มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น
- ช่วยให้ประสาททุกส่วนว่องไวและตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยในการทรงตัว
- ช่วยด้านจิตใจ สุขุม รู้แพ้รู้ชนะ การให้อภัย
- ลดความเครียด
- ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ความมุ่งหมาย
กีฬาตะกร้อนั้นอาจจะสรุปความมุ่งหมายในธรรมชาติของกีฬาตะกร้อได้อย่างกว้างๆดังนี้คือ
- เล่นง่าย คือเล่นสนุกสนานแต่ถ้าเล่นให้ได้ดีก็ควรต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ในการเล่น
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์และเวลาในการเล่น
- ทำให้เกิดการตื่นตัว
- ทำให้จิตใจสุขุมเยือกเย็น
- มีระบบในการตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้อง
- ทำให้มีระบบประสาททางความคิดดี
- สุขภาพพลานามัยแข็งแรงไร้โรคภัยต่างๆ
- ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน
- ทำให้เกิดความสามัคคีทั้งในหมู่คณะและส่วนรวม
- ทำให้รู้จักการรวมกลุ่มในสังคม การเข้าสังคม
- รู้จักการสร้างความปลอดภัยในการเล่น
- ใช้เป็นแนวทางในการเล่นกีฬาชนิดอื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ฟุตบอล
- สามารถใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดศิลปะและอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติได้อีกด้วย